วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning log 14

Monday,28 November, 2019

💬 the knowledge gained





นางสาวปรางทอง สุริยวงศ์
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ผักผลไม้


นางสาวบงกชกมล ยังโยมร 
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย บ้านแสนสุข


นางสาวสิริวดี นุเรศรัมย์
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ฝน


นางสาวอภิชญา โมคมูล
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ไข่



นางสาวชนนิกานต์ วัฒนา
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย กลางวัน-กลางคืน


นางสาวอุไรพร พวกดี
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย วัฏจักรฝน



นางสาวสุชัญญา บุญญะบุตร
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ตัวเรา




Self evaluation

  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังเพื่อนสอนและนำคำแนะนำที่อาจารย์บอกมาปรับปรุงค่ะ

Evaluate friends

 เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะ รับฟังคำแนะนำจากอาจารย์

Evaluate the teacher


อาจารย์คอยแนะนำวิธีการสอนที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาอยู่ตลอดค่ะ




Learning log 13

Monday,25 November, 2019

💬 the knowledge gained




👉 นางสาวสุพรรณิการ์ สุขเจริญ 
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย สี




👉 นางสาวกฤษณา กบขุนทด 
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ของเล่น ของใช้




👉 นางสาววสุทธิดา คชชา 
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ลักษณะของนม



👉 นางสาวนางสาวขนิษฐา  สมานมิตร 
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย การแปรรูปนม



👉 นางสาววิจิตรา ปาคำ
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ประโยชน์ของนม




👉 นางสาวกิ่งแก้ว ทนนำ
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ประเภทของนม



👉 นางสาววิภาพร  จิตอาคะ 
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ข้อพึงระวังของนม




👉 นางสาวมารีน่า ดาโร๊ส
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ต้นไม้ใบหญ้า




นางสาวสุภาวดี ปานสุวรรณ
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ภูเขาไฟ




นางสาวสุดารัตน์ อาสนามิ
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย สัตว์



นางสาวรัตนา พงษา
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ครอบตรัวของฉัน



 นางสาวรัตติยากร ศาลาฤทธิ์
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ความลับสีดำ



นางสาวสุภาพร วัดจัง
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ส่วนประกอบของต้นไม้



นางสาวประภัสสร แทนด้วง
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย อาหารดีมีประโยชน์


Self evaluation

  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังเพื่อนสอนและนำคำแนะนำที่อาจารย์บอกมาปรับปรุงค่ะ

Evaluate friends

 เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะ รับฟังคำแนะนำจากอาจารย์

Evaluate the teacher

อาจารย์คอยแนะนำวิธีการสอนที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาอยู่ตลอดค่ะ


Learning log 12

Monday,18 November, 2019

💬 the knowledge gained








             อาทิตย์นี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการให้ทำกิจกรรม วงกลม
โดย เริ่มจากการให้นักศึกษาจับคู่ แล้วค่อยมาเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่  อาจจะใช้เเพลงในการทำกิจกรรมให้เด็กปรบมือตามจังหวะดนตรีในบทเพลงพร้อมทำท่าประกอบตามจินตนาการของเด็กๆ

👉 EF ( Executive Function )  ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน

1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการ
ประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

🌼 6.แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High/Scope)
        👉 การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน  การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก  6  ขวบแรก  เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล  และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัด  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก  ใจเด็ก  และอนาคตเด็ก
        👉 การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้  แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ  พัฒนาสมรรถนะทางปัญญา  และพัฒนาจิตนิยมที่ดี  การเรียนการสอนสำหรับปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบ  แต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง  รูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือ  รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป


🌺 แนวคิดพื้นฐาน
            การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น  เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย 

🍎 แนวคิดสำคัญ
        แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย  ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

🍑 การเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
-             การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
-              การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
-              การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ




Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ให้ความร่วมมือกับอาจารย์และเพื่อนในการทำกิจกรรมในห้องเรียน


Evaluate friends

👉   เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และสนุกสนานในการทำกิจกรรมค่ะ


Evaluate the teacher

👉      อาจารย์หากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำร่วมกันในห้อง เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอน





Learning log 11

Monday,11 November, 2019

💬 the knowledge gained





             👉 วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษามาจัดสภาพแวดลล้อมบรรยากาศห้องปฏิบัติการปฐมวัย  เพื่อให้การจัดเก็บสิ่งของเกิดความเรียบร้อย



Self evaluation

👉  ตั้งใจช่วยเพื่อนจัดเก็บอุปกรณ์การเรียนและสื่อต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ค่ะ


Evaluate friends

👉   เพื่อนทุกคน  ตั้งใจและช่วยกันจัดเก็บสิ่งของอย่างเป็นระเบียบร้อยมากค่ะ

Evaluate the teacher

👉   อาจารย์ให้สื่อการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้สอนให้กับเด็กปฐมวัยอย่างเป็นประโยชน์มากค่ะ


วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning log 10

Monday,28 October, 2019

💬 the knowledge gained





              👉 วันนี้มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรณิการ์ สุสม ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ สารนิทัศน์

🌼 คุณค่าและความสำคัญ
1.สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
2.ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง  (การเล่น/การสัมผัสทั้ง 5)
3.ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
4.ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
5.เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  การจัดประสบการณ์ของเด็ก การสอนของครูและบทบาทของครู

🌼 รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์
      
1.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก 
         1.1  หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก   
         1.2  หลักฐานการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  เช่น  คำถามและการสนทนาระหว่างเด็กกับครูหรือเพื่อนในโอกาสต่างๆ ตามตารางประเมินพัฒนาการเด็ก
2.หลักฐานเกี่ยวกับการสอนของครู
         2.1 ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
         2.2 การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ  (สารนิทัศน์)
         2.3 การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผน (การไตร่ตรอง)
         2.4 การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้-ความเข้าใจ

🌺 กิจกรรมหลัก  4  กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาการเรียนรู้
1 เก็บรวบรวมหลักฐาน
2 สะท้อนความคิดเห็น
3 นำเสนอความก้าวหน้า
4 ประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

🌼 ประเภทของสารนิทัศน์
1 บทสรุปโครงการ   เช่น  เรื่อง "ของขวัญ"   
ระยะที่ 1 โครงการนี้เริ่มต้นโดยวันเกิดของน้องสตางค์  ได้ตุ๊กตาเป็นของขวัญ  จึงนำมาโรงเรียนด้วย เพื่อนๆสนใจและต่างก็พูดคุยกันเกี่ยวกับของขวัญ  ครูให้เด็กวาดภาพและตั้งคำถามที่อยากรู้  (Web ใยแมงมุม )
ระยะที่  2  ระยะพัฒนาโครงการ  เด็กค้นหาคำตอบ
ระยะที่  3  สรุปโครงการ  (การสังเกตพัฒนาการเด็กและบันทึกพฤติกรรมเด็ก  พอร์ตฟอลิโอ  ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการเด็ก)
-ผลงานเด็กรายบุคคล  (การวาดภาพในระยะแรกเกี่ยวกับของขวัญเด็กตามจินตนาการ)
-ผลงานเด็กแบบกลุ่ม  (เด็กๆช่วยกันวาดภาพของขวัญแบบต่างๆ มีทั้งขนม  ตุ๊กตา  ของเล่น โดยมีการแบ่งพื้นที่จัดประเภทของขวัญ)

🍑 การสะท้อนตนเอง   
-นักเรียน 
-ผู้ปกครอง
-คุณครู

🍒 บทบาทครูกับจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด
1 การใช้จิตวิทยา  เช่น  ให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดเห็น
2 การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรม
3 การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก  เช่น  การทำงานร่วมกับเด็ก ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
4 การใช้คำถามกับเด็ก   ได้แก่   
4.1คำถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน     ( คำถามให้สังเกต   คำถามทบทวนความจำ   คำถามบ่งชี้ และคำถามจำกัดความ )
4.2คำถามเพื่อคิดค้นและขยายความคิด  (คำถามให้อธิบาย  คำถามให้เปรียบเทียบ  คำถามให้จำแนก  คำถามให้ยกตัวอย่าง  คำถามให้สรุปและคำถามตัดสินใจ)

🌸 ประเภทของทักษะการคิด
1 ทักษะการคิดพื้นฐาน 
2 การคิดทั่วไป  เช่น  การสังเกต
3 ทักษะการคิดระดับสูง

🌻 กระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย
1. การคิดพื้นฐาน   
2. การคิดทั่วไป
3. ทักษะการคิดระดับสูง  เช่น  คิดวิเคราะห์
4. การคิดสร้างสรรค์

🌵 ขั้นพัฒนาการศิลปะ
1. พัฒนาการทางการเล่นบล็อก 
ขั้นที่ 1  สำรวจถือไปมา (อายุ 2-3 ปี ) 
ขั้นที่ 2  ใช้ไม้ต่อแนวตั้ง-แนวนอน  (อายุ 3-4 ปี ) 
ขั้นที่ 3  ต่อสะพาน 
ขั้นที่ 4  ปิดล้อม-ปิดกั้น 
ขั้นที่ 5  สมมาตร 
ขั้นที่ 6  สร้างสิ่งต่างๆในชื่อ   
ขั้นที่ 7  สร้างและเล่นบทบาทสมมุติ  (อายุ 5-6 ปี )
2. ขั้นการตัดกรรไกร   โดย พัชรี
ขั้นที่ 1   ตัดทีละนิด  (อายุ 2-3 ปี )
ขั้นที่ 2   ตัดชิ้น    (อายุ 3 ปี )
ขั้นที่ 3   ตัดตามแนวเส้นตรง
ขั้นที่ 4   ตัดเส้นซิกแซก  เส้นโค้ง
ขั้นที่ 5   ตัดภาพ จากนิตยสารตามโครงร่าง

🌼 ประเภทกราฟฟิก
1.แบบรวบยอด
2.แบบความสัมพันธ์   ได้แก่  Vandiagram    T-Chart 
3.ผังกราฟฟิกเชื่อมโยงสาเหตุ  เช่น  ใยแมงมุม
4.ผังการจัดเรียงลำดับข้อมูล   เช่น  ผังลูกโซ่
5.ผังแบบจัดกลุ่ม/จำแนกประเภท   เช่น  แผนภูมิต้นไม้







Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย และให้ความร่วมมือในการอบรมตรั้งนี้ค่ะ

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการอบรมค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายสุภาพ อธิบายรายละเอียดได้ชัดเจนค่ะ


วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning log 9

Monday,23October, 2019

💬 the knowledge gained



🌸 การเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้1.วิเคราะห์จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  2560        ได้แก่   ส่วนที่ 1  ประสบการณ์สำคัญ  เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้      ส่วนที่  2  สาระสำคัญทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก   เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก   ธรรมชาติรอบตัวเด็ก  และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
2.วิเคราะห์หัวเรื่อง  เขียนมาเป็น  My Mapping (คู่กับประสบการณ์สำคัญ)
3.ออกแบบกิจกรรม   (เนื้อหาจากข้อ 1   ตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้)
4.จัดลำดับกิจกรรม 6  หลักให้ครบทั้ง  5  วัน  
1.การเขียนแผนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ-แบบบรรยาย  
-แบบผู้นำ-ผู้ตาม     
-แบบตามข้อตกลง 
-แบบประกอบจังหวะเพลง  
-แบบพร้อมกับอุปกรณ์ประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ  1.กิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐาน    2.กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา  3.กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

2.การเขียนแผนกิจกรรมกลางแจ้ง-การเล่นอิสระ -เกมเบ็ดเตล็ดและเกมผลัด  (เกมเบ็ดเตล็ด  เป็นเกมที่ได้กันครบทุกคน  เช่น  เกมมอญซ่อนผ้า      ส่วนเกมผลัด  เป็นเกมที่มีจุดเริ่มต้น-วกกลับ  และมีจุดจบ  เช่น  เกมเก็บของ )   ในช่วงวัยเด็กเล็ก  เด็กจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  " Ecocentric"  เริ่มจากเล่นคนเดียว   เล่นเป็นคู่ขนานและเล่นเป็นกลุ่ม  โดยครูต้องใช้การสาธิตในการสอนกิจกรรมต่างๆ

3.การเขียนแผนเกมการศึกษา-เกมจับคู่ภาพเหมือน   
-เกมลอตโต   
-เกมจัดหมวดหมู่   
-เกมโดมิโน   
-เกมจับคู่ความสัมพันธ์ 2 แกน   
-เกมอนุกรม   
-เกมจิกซอว์ล   
-เกมพื้นฐานการบวก  
-เกมแมกนิกูแร็ก

4.การเขียนแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์      ส่วนที่ 1   ขั้นนำ  ครูใช้สื่อในการเก็บเด็กให้สงบนิ่ง   เช่น  นิทาน  เพลง  คำคล้องจอง  เกมการศึกษา    และปริศนาคำทาย  (นิทานนำไปสู่การสอนได้เช่นกัน)      ส่วนที่ 2   ขั้นสอน    
1.ครูและเด็กร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้  เช่น  หน่วย ผลไม้ใช้เพลง ผลไม้   มาให้เด็กๆร้องกัน2.ถามความรู้เดิมเด็กๆ เกี่ยวกับผลไม้ 3.ใช้สื่อ  เช่น  ตะกร้าผลไม้    ครูเรียงผลไม้จากซ้ายไปขวา  จากนั้นครูหยิบผลไม้ขึ้นมาทีละผล  แล้วถามว่าผลไม้มีชื่อเรียกว่าอย่างไร   แล้วนับผลไม้  ถามเด็กๆว่าผลไม้มีทั้งหมดจำนวนเท่าไร  เขียนเลขอารบิกกำกับผลไม้    ต่อมาให้เด็กๆหบิบตัวเลขมาแทนค่าและแยกประเภทผลไม้  โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ 1 การนับจำนวนตัวเลข ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์  (ประสบการณ์สำคัญ  คือ  
1.การนับจำนวนเลข   
2.การจัดหมวดหมู่/เปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า)       ส่วนที่ 3 ขั้นสรุป   ครูสรุปว่า  ผลไม้มีอะไรบ้าง   มีสีใดบ้าง  เปรียบเทียบมากน้อยผลไม้  และสุดท้ายให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะ


🌼 กิจรรม  STEM  Education   เรื่อง  การสร้างแหล่งน้ำ
1.อาจารย์แจกกระดาษชารท์ให้นักศึกษาวาดรูปแหล่งน้ำ
2.แจกกระดาษ  เทปใส มาสร้างที่ปล่อยน้ำ
3.แจกหลอดและลูกปิงปอง  มาทำสไลด์เดอร์

🌺 สรุปการทำกิจกรรม STEM  Education
 
      S    ได้เรียนรู้เรื่อง  แรงเสียดทาน
      T    ได้คิดว่าจะนำสิ่งใดมาสร้าง  และแก้ปัญหากับการสร้างแหล่งให้ดียิ่งขึ้น
        ได้ออกแบบการสร้างแหล่งน้ำและสไลด์เดอร์
      M   ได้คำนวณการใช้อุปกรณ์ในการสร้างสไลด์เดอร์















Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย ช่วยเพื่อนในกลุ่มคิดและวางแผนการทำงาน และสามารถทำงานออกมาได้สำเร็จโดยการยอมรับความคิดเห็นของกันและกันค่ะ

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในห้องค่ะ และช่วยกันทำงานกลุ่มในห้องเป็นอย่างดีค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายเหมาะสม อธิบายเข้าใจดีค่ะ และคอยแนะนำเทคนิคต่างๆให้กับนักศึกษาเสมอค่ะ




Learning log 8

Monday,25 Sebtember, 2019

💬 the knowledge gained




              วันนี้เรียนรู้เรื่อง Project Approach โดยการเขียนโปรเจ็กเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในห้องเรียน
และกลุ่มดิฉันได้เขียนโปรเจ็กเรื่อง กระดุม โดยมีรายละเอียดดังนี้

โปรเจกต์เรื่อง... กระดุม






























ระยะที่ 1
👉 เด็กๆช่วยกันเสนอหัวข้อที่อยากเรียนรู้ ได้แก่ กระดุม รองเท้า เสื้อ กระเป๋า
สรุป : เด็กๆตกลงร่วมกันอยากเรียนรู้เรื่อง กระดุม เพราะอยากรู้ว่า กระดุม มีกี่ประเภท และทำมาจากอะไร

👉 ครูถามประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับเรื่อง กระดุม
- คุณแม่ติด กระดุม ชุดนักเรียน
- หนูทำ กระดุม หลุดคุณแม่เย็บให้
- หนูไปตลาดเห็นร้านขาย กระดุม
- เสื้อหนูมี กระดุม 5 เม็ด

👉 คำถามที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับ กระดุม
- น้องเดียร์ : กระดุม มีสีอะไรบ้าง
- น้องมายด์ : กระดุม มีแบบไหนบ้าง
- น้องเฟียส : ประโยชน์ของ กระดุม มีแบบไหนบ้าง
- น้องใหม่ : กระดุม ทำมาจากอะไร

ระยะที่ 2
👉 วิธีการค้นหาคำตอบ
- สืบค้นข้อมูลที่ห้องสมุด
- สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
- ไปร้านขายกระดุม
- ไปศึกษาที่โรงงานผลิตกระดุม
- นำวิทยากรมาให้ความรู้

👉 สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนในห้องเรียน
👉 รวบรวมข้อมูลแล้วสรุปเป็นกราฟิกต่างๆ

ระยะที่ 3
👉 จัดนิทรรศการเรื่อง กระดุม
พิธีกร : ทุกคนหมุนเวียนกัน
น้องเดียร์ : ประสบการณ์เดิม
น้องมายด์ : วาดภาพประสบการณ์เดิม
น้องใหม่ : คำถามที่เด็กๆอยากรู้
น้องเฟียส : วิธีการค้นหาคำตอบ
น้องเดียร์ : สีของ กระดุม
น้องมายด์ : ลักษณะของ กระดุม
น้องใหม่ : ประโยชน์ของ กระดุม
น้องเฟียส : วัสดที่นำมาทำ กระดุม

👉 สารนิทัศน์
1.เด็กๆทุกคนให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันในการทำโปรเจกต์ (เดียร์)
2.เด็กๆให้ความสนใจและอยากเรียนรู้เรื่อง กระดุม  (มายด์)
3.เด็กๆรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  (ใหม่)
4.เด็กๆรู้จักการช่วยเหลือกันและกัน และแบ่งหน้าที่กันทำงาน   (เฟียส)

โปรเจกต์เรื่อง แอร์



โปเจกต์เรื่อง กระเป๋า





โปรเจกต์เรื่อง กระดาษ





โปรเจกต์เรื่อง ดินสอ





โปรเจกต์เรื่อง รองเท้า





Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย ช่วยเพื่อนในกลุ่มคิดและวางแผนการเขียนโปรเจ็กเป็นอย่างดีค่ะ

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในห้องค่ะ และช่วยกันทำงานกลุ่มในห้องเป็นอย่างดีค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายเหมาะสม อธิบายเข้าใจดีค่ะ และคอยแนะนำเทคนิคต่างๆให้กับนักศึกษาเสมอค่ะ