วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning log 10

Monday,28 October, 2019

💬 the knowledge gained





              👉 วันนี้มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรณิการ์ สุสม ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ สารนิทัศน์

🌼 คุณค่าและความสำคัญ
1.สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
2.ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง  (การเล่น/การสัมผัสทั้ง 5)
3.ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
4.ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
5.เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  การจัดประสบการณ์ของเด็ก การสอนของครูและบทบาทของครู

🌼 รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์
      
1.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก 
         1.1  หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก   
         1.2  หลักฐานการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  เช่น  คำถามและการสนทนาระหว่างเด็กกับครูหรือเพื่อนในโอกาสต่างๆ ตามตารางประเมินพัฒนาการเด็ก
2.หลักฐานเกี่ยวกับการสอนของครู
         2.1 ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
         2.2 การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ  (สารนิทัศน์)
         2.3 การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผน (การไตร่ตรอง)
         2.4 การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้-ความเข้าใจ

🌺 กิจกรรมหลัก  4  กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาการเรียนรู้
1 เก็บรวบรวมหลักฐาน
2 สะท้อนความคิดเห็น
3 นำเสนอความก้าวหน้า
4 ประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

🌼 ประเภทของสารนิทัศน์
1 บทสรุปโครงการ   เช่น  เรื่อง "ของขวัญ"   
ระยะที่ 1 โครงการนี้เริ่มต้นโดยวันเกิดของน้องสตางค์  ได้ตุ๊กตาเป็นของขวัญ  จึงนำมาโรงเรียนด้วย เพื่อนๆสนใจและต่างก็พูดคุยกันเกี่ยวกับของขวัญ  ครูให้เด็กวาดภาพและตั้งคำถามที่อยากรู้  (Web ใยแมงมุม )
ระยะที่  2  ระยะพัฒนาโครงการ  เด็กค้นหาคำตอบ
ระยะที่  3  สรุปโครงการ  (การสังเกตพัฒนาการเด็กและบันทึกพฤติกรรมเด็ก  พอร์ตฟอลิโอ  ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการเด็ก)
-ผลงานเด็กรายบุคคล  (การวาดภาพในระยะแรกเกี่ยวกับของขวัญเด็กตามจินตนาการ)
-ผลงานเด็กแบบกลุ่ม  (เด็กๆช่วยกันวาดภาพของขวัญแบบต่างๆ มีทั้งขนม  ตุ๊กตา  ของเล่น โดยมีการแบ่งพื้นที่จัดประเภทของขวัญ)

🍑 การสะท้อนตนเอง   
-นักเรียน 
-ผู้ปกครอง
-คุณครู

🍒 บทบาทครูกับจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด
1 การใช้จิตวิทยา  เช่น  ให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดเห็น
2 การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรม
3 การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก  เช่น  การทำงานร่วมกับเด็ก ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
4 การใช้คำถามกับเด็ก   ได้แก่   
4.1คำถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน     ( คำถามให้สังเกต   คำถามทบทวนความจำ   คำถามบ่งชี้ และคำถามจำกัดความ )
4.2คำถามเพื่อคิดค้นและขยายความคิด  (คำถามให้อธิบาย  คำถามให้เปรียบเทียบ  คำถามให้จำแนก  คำถามให้ยกตัวอย่าง  คำถามให้สรุปและคำถามตัดสินใจ)

🌸 ประเภทของทักษะการคิด
1 ทักษะการคิดพื้นฐาน 
2 การคิดทั่วไป  เช่น  การสังเกต
3 ทักษะการคิดระดับสูง

🌻 กระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย
1. การคิดพื้นฐาน   
2. การคิดทั่วไป
3. ทักษะการคิดระดับสูง  เช่น  คิดวิเคราะห์
4. การคิดสร้างสรรค์

🌵 ขั้นพัฒนาการศิลปะ
1. พัฒนาการทางการเล่นบล็อก 
ขั้นที่ 1  สำรวจถือไปมา (อายุ 2-3 ปี ) 
ขั้นที่ 2  ใช้ไม้ต่อแนวตั้ง-แนวนอน  (อายุ 3-4 ปี ) 
ขั้นที่ 3  ต่อสะพาน 
ขั้นที่ 4  ปิดล้อม-ปิดกั้น 
ขั้นที่ 5  สมมาตร 
ขั้นที่ 6  สร้างสิ่งต่างๆในชื่อ   
ขั้นที่ 7  สร้างและเล่นบทบาทสมมุติ  (อายุ 5-6 ปี )
2. ขั้นการตัดกรรไกร   โดย พัชรี
ขั้นที่ 1   ตัดทีละนิด  (อายุ 2-3 ปี )
ขั้นที่ 2   ตัดชิ้น    (อายุ 3 ปี )
ขั้นที่ 3   ตัดตามแนวเส้นตรง
ขั้นที่ 4   ตัดเส้นซิกแซก  เส้นโค้ง
ขั้นที่ 5   ตัดภาพ จากนิตยสารตามโครงร่าง

🌼 ประเภทกราฟฟิก
1.แบบรวบยอด
2.แบบความสัมพันธ์   ได้แก่  Vandiagram    T-Chart 
3.ผังกราฟฟิกเชื่อมโยงสาเหตุ  เช่น  ใยแมงมุม
4.ผังการจัดเรียงลำดับข้อมูล   เช่น  ผังลูกโซ่
5.ผังแบบจัดกลุ่ม/จำแนกประเภท   เช่น  แผนภูมิต้นไม้







Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย และให้ความร่วมมือในการอบรมตรั้งนี้ค่ะ

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการอบรมค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายสุภาพ อธิบายรายละเอียดได้ชัดเจนค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น