วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning log 10

Monday,28 October, 2019

💬 the knowledge gained





              👉 วันนี้มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรณิการ์ สุสม ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ สารนิทัศน์

🌼 คุณค่าและความสำคัญ
1.สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
2.ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง  (การเล่น/การสัมผัสทั้ง 5)
3.ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
4.ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
5.เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  การจัดประสบการณ์ของเด็ก การสอนของครูและบทบาทของครู

🌼 รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์
      
1.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก 
         1.1  หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก   
         1.2  หลักฐานการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  เช่น  คำถามและการสนทนาระหว่างเด็กกับครูหรือเพื่อนในโอกาสต่างๆ ตามตารางประเมินพัฒนาการเด็ก
2.หลักฐานเกี่ยวกับการสอนของครู
         2.1 ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
         2.2 การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ  (สารนิทัศน์)
         2.3 การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผน (การไตร่ตรอง)
         2.4 การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้-ความเข้าใจ

🌺 กิจกรรมหลัก  4  กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาการเรียนรู้
1 เก็บรวบรวมหลักฐาน
2 สะท้อนความคิดเห็น
3 นำเสนอความก้าวหน้า
4 ประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

🌼 ประเภทของสารนิทัศน์
1 บทสรุปโครงการ   เช่น  เรื่อง "ของขวัญ"   
ระยะที่ 1 โครงการนี้เริ่มต้นโดยวันเกิดของน้องสตางค์  ได้ตุ๊กตาเป็นของขวัญ  จึงนำมาโรงเรียนด้วย เพื่อนๆสนใจและต่างก็พูดคุยกันเกี่ยวกับของขวัญ  ครูให้เด็กวาดภาพและตั้งคำถามที่อยากรู้  (Web ใยแมงมุม )
ระยะที่  2  ระยะพัฒนาโครงการ  เด็กค้นหาคำตอบ
ระยะที่  3  สรุปโครงการ  (การสังเกตพัฒนาการเด็กและบันทึกพฤติกรรมเด็ก  พอร์ตฟอลิโอ  ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการเด็ก)
-ผลงานเด็กรายบุคคล  (การวาดภาพในระยะแรกเกี่ยวกับของขวัญเด็กตามจินตนาการ)
-ผลงานเด็กแบบกลุ่ม  (เด็กๆช่วยกันวาดภาพของขวัญแบบต่างๆ มีทั้งขนม  ตุ๊กตา  ของเล่น โดยมีการแบ่งพื้นที่จัดประเภทของขวัญ)

🍑 การสะท้อนตนเอง   
-นักเรียน 
-ผู้ปกครอง
-คุณครู

🍒 บทบาทครูกับจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด
1 การใช้จิตวิทยา  เช่น  ให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดเห็น
2 การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรม
3 การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก  เช่น  การทำงานร่วมกับเด็ก ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
4 การใช้คำถามกับเด็ก   ได้แก่   
4.1คำถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน     ( คำถามให้สังเกต   คำถามทบทวนความจำ   คำถามบ่งชี้ และคำถามจำกัดความ )
4.2คำถามเพื่อคิดค้นและขยายความคิด  (คำถามให้อธิบาย  คำถามให้เปรียบเทียบ  คำถามให้จำแนก  คำถามให้ยกตัวอย่าง  คำถามให้สรุปและคำถามตัดสินใจ)

🌸 ประเภทของทักษะการคิด
1 ทักษะการคิดพื้นฐาน 
2 การคิดทั่วไป  เช่น  การสังเกต
3 ทักษะการคิดระดับสูง

🌻 กระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย
1. การคิดพื้นฐาน   
2. การคิดทั่วไป
3. ทักษะการคิดระดับสูง  เช่น  คิดวิเคราะห์
4. การคิดสร้างสรรค์

🌵 ขั้นพัฒนาการศิลปะ
1. พัฒนาการทางการเล่นบล็อก 
ขั้นที่ 1  สำรวจถือไปมา (อายุ 2-3 ปี ) 
ขั้นที่ 2  ใช้ไม้ต่อแนวตั้ง-แนวนอน  (อายุ 3-4 ปี ) 
ขั้นที่ 3  ต่อสะพาน 
ขั้นที่ 4  ปิดล้อม-ปิดกั้น 
ขั้นที่ 5  สมมาตร 
ขั้นที่ 6  สร้างสิ่งต่างๆในชื่อ   
ขั้นที่ 7  สร้างและเล่นบทบาทสมมุติ  (อายุ 5-6 ปี )
2. ขั้นการตัดกรรไกร   โดย พัชรี
ขั้นที่ 1   ตัดทีละนิด  (อายุ 2-3 ปี )
ขั้นที่ 2   ตัดชิ้น    (อายุ 3 ปี )
ขั้นที่ 3   ตัดตามแนวเส้นตรง
ขั้นที่ 4   ตัดเส้นซิกแซก  เส้นโค้ง
ขั้นที่ 5   ตัดภาพ จากนิตยสารตามโครงร่าง

🌼 ประเภทกราฟฟิก
1.แบบรวบยอด
2.แบบความสัมพันธ์   ได้แก่  Vandiagram    T-Chart 
3.ผังกราฟฟิกเชื่อมโยงสาเหตุ  เช่น  ใยแมงมุม
4.ผังการจัดเรียงลำดับข้อมูล   เช่น  ผังลูกโซ่
5.ผังแบบจัดกลุ่ม/จำแนกประเภท   เช่น  แผนภูมิต้นไม้







Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย และให้ความร่วมมือในการอบรมตรั้งนี้ค่ะ

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการอบรมค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายสุภาพ อธิบายรายละเอียดได้ชัดเจนค่ะ


วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning log 9

Monday,23October, 2019

💬 the knowledge gained



🌸 การเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้1.วิเคราะห์จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  2560        ได้แก่   ส่วนที่ 1  ประสบการณ์สำคัญ  เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้      ส่วนที่  2  สาระสำคัญทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก   เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก   ธรรมชาติรอบตัวเด็ก  และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
2.วิเคราะห์หัวเรื่อง  เขียนมาเป็น  My Mapping (คู่กับประสบการณ์สำคัญ)
3.ออกแบบกิจกรรม   (เนื้อหาจากข้อ 1   ตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้)
4.จัดลำดับกิจกรรม 6  หลักให้ครบทั้ง  5  วัน  
1.การเขียนแผนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ-แบบบรรยาย  
-แบบผู้นำ-ผู้ตาม     
-แบบตามข้อตกลง 
-แบบประกอบจังหวะเพลง  
-แบบพร้อมกับอุปกรณ์ประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ  1.กิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐาน    2.กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา  3.กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

2.การเขียนแผนกิจกรรมกลางแจ้ง-การเล่นอิสระ -เกมเบ็ดเตล็ดและเกมผลัด  (เกมเบ็ดเตล็ด  เป็นเกมที่ได้กันครบทุกคน  เช่น  เกมมอญซ่อนผ้า      ส่วนเกมผลัด  เป็นเกมที่มีจุดเริ่มต้น-วกกลับ  และมีจุดจบ  เช่น  เกมเก็บของ )   ในช่วงวัยเด็กเล็ก  เด็กจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  " Ecocentric"  เริ่มจากเล่นคนเดียว   เล่นเป็นคู่ขนานและเล่นเป็นกลุ่ม  โดยครูต้องใช้การสาธิตในการสอนกิจกรรมต่างๆ

3.การเขียนแผนเกมการศึกษา-เกมจับคู่ภาพเหมือน   
-เกมลอตโต   
-เกมจัดหมวดหมู่   
-เกมโดมิโน   
-เกมจับคู่ความสัมพันธ์ 2 แกน   
-เกมอนุกรม   
-เกมจิกซอว์ล   
-เกมพื้นฐานการบวก  
-เกมแมกนิกูแร็ก

4.การเขียนแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์      ส่วนที่ 1   ขั้นนำ  ครูใช้สื่อในการเก็บเด็กให้สงบนิ่ง   เช่น  นิทาน  เพลง  คำคล้องจอง  เกมการศึกษา    และปริศนาคำทาย  (นิทานนำไปสู่การสอนได้เช่นกัน)      ส่วนที่ 2   ขั้นสอน    
1.ครูและเด็กร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้  เช่น  หน่วย ผลไม้ใช้เพลง ผลไม้   มาให้เด็กๆร้องกัน2.ถามความรู้เดิมเด็กๆ เกี่ยวกับผลไม้ 3.ใช้สื่อ  เช่น  ตะกร้าผลไม้    ครูเรียงผลไม้จากซ้ายไปขวา  จากนั้นครูหยิบผลไม้ขึ้นมาทีละผล  แล้วถามว่าผลไม้มีชื่อเรียกว่าอย่างไร   แล้วนับผลไม้  ถามเด็กๆว่าผลไม้มีทั้งหมดจำนวนเท่าไร  เขียนเลขอารบิกกำกับผลไม้    ต่อมาให้เด็กๆหบิบตัวเลขมาแทนค่าและแยกประเภทผลไม้  โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ 1 การนับจำนวนตัวเลข ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์  (ประสบการณ์สำคัญ  คือ  
1.การนับจำนวนเลข   
2.การจัดหมวดหมู่/เปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า)       ส่วนที่ 3 ขั้นสรุป   ครูสรุปว่า  ผลไม้มีอะไรบ้าง   มีสีใดบ้าง  เปรียบเทียบมากน้อยผลไม้  และสุดท้ายให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะ


🌼 กิจรรม  STEM  Education   เรื่อง  การสร้างแหล่งน้ำ
1.อาจารย์แจกกระดาษชารท์ให้นักศึกษาวาดรูปแหล่งน้ำ
2.แจกกระดาษ  เทปใส มาสร้างที่ปล่อยน้ำ
3.แจกหลอดและลูกปิงปอง  มาทำสไลด์เดอร์

🌺 สรุปการทำกิจกรรม STEM  Education
 
      S    ได้เรียนรู้เรื่อง  แรงเสียดทาน
      T    ได้คิดว่าจะนำสิ่งใดมาสร้าง  และแก้ปัญหากับการสร้างแหล่งให้ดียิ่งขึ้น
        ได้ออกแบบการสร้างแหล่งน้ำและสไลด์เดอร์
      M   ได้คำนวณการใช้อุปกรณ์ในการสร้างสไลด์เดอร์















Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย ช่วยเพื่อนในกลุ่มคิดและวางแผนการทำงาน และสามารถทำงานออกมาได้สำเร็จโดยการยอมรับความคิดเห็นของกันและกันค่ะ

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในห้องค่ะ และช่วยกันทำงานกลุ่มในห้องเป็นอย่างดีค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายเหมาะสม อธิบายเข้าใจดีค่ะ และคอยแนะนำเทคนิคต่างๆให้กับนักศึกษาเสมอค่ะ




Learning log 8

Monday,25 Sebtember, 2019

💬 the knowledge gained




              วันนี้เรียนรู้เรื่อง Project Approach โดยการเขียนโปรเจ็กเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในห้องเรียน
และกลุ่มดิฉันได้เขียนโปรเจ็กเรื่อง กระดุม โดยมีรายละเอียดดังนี้

โปรเจกต์เรื่อง... กระดุม






























ระยะที่ 1
👉 เด็กๆช่วยกันเสนอหัวข้อที่อยากเรียนรู้ ได้แก่ กระดุม รองเท้า เสื้อ กระเป๋า
สรุป : เด็กๆตกลงร่วมกันอยากเรียนรู้เรื่อง กระดุม เพราะอยากรู้ว่า กระดุม มีกี่ประเภท และทำมาจากอะไร

👉 ครูถามประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับเรื่อง กระดุม
- คุณแม่ติด กระดุม ชุดนักเรียน
- หนูทำ กระดุม หลุดคุณแม่เย็บให้
- หนูไปตลาดเห็นร้านขาย กระดุม
- เสื้อหนูมี กระดุม 5 เม็ด

👉 คำถามที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับ กระดุม
- น้องเดียร์ : กระดุม มีสีอะไรบ้าง
- น้องมายด์ : กระดุม มีแบบไหนบ้าง
- น้องเฟียส : ประโยชน์ของ กระดุม มีแบบไหนบ้าง
- น้องใหม่ : กระดุม ทำมาจากอะไร

ระยะที่ 2
👉 วิธีการค้นหาคำตอบ
- สืบค้นข้อมูลที่ห้องสมุด
- สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
- ไปร้านขายกระดุม
- ไปศึกษาที่โรงงานผลิตกระดุม
- นำวิทยากรมาให้ความรู้

👉 สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนในห้องเรียน
👉 รวบรวมข้อมูลแล้วสรุปเป็นกราฟิกต่างๆ

ระยะที่ 3
👉 จัดนิทรรศการเรื่อง กระดุม
พิธีกร : ทุกคนหมุนเวียนกัน
น้องเดียร์ : ประสบการณ์เดิม
น้องมายด์ : วาดภาพประสบการณ์เดิม
น้องใหม่ : คำถามที่เด็กๆอยากรู้
น้องเฟียส : วิธีการค้นหาคำตอบ
น้องเดียร์ : สีของ กระดุม
น้องมายด์ : ลักษณะของ กระดุม
น้องใหม่ : ประโยชน์ของ กระดุม
น้องเฟียส : วัสดที่นำมาทำ กระดุม

👉 สารนิทัศน์
1.เด็กๆทุกคนให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันในการทำโปรเจกต์ (เดียร์)
2.เด็กๆให้ความสนใจและอยากเรียนรู้เรื่อง กระดุม  (มายด์)
3.เด็กๆรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  (ใหม่)
4.เด็กๆรู้จักการช่วยเหลือกันและกัน และแบ่งหน้าที่กันทำงาน   (เฟียส)

โปรเจกต์เรื่อง แอร์



โปเจกต์เรื่อง กระเป๋า





โปรเจกต์เรื่อง กระดาษ





โปรเจกต์เรื่อง ดินสอ





โปรเจกต์เรื่อง รองเท้า





Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย ช่วยเพื่อนในกลุ่มคิดและวางแผนการเขียนโปรเจ็กเป็นอย่างดีค่ะ

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในห้องค่ะ และช่วยกันทำงานกลุ่มในห้องเป็นอย่างดีค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายเหมาะสม อธิบายเข้าใจดีค่ะ และคอยแนะนำเทคนิคต่างๆให้กับนักศึกษาเสมอค่ะ