วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 7

Monday,23 Sebtember, 2019

💬 the knowledge gained

ตัวอย่างการสอนแบบ “ Project Approach ” กลุ่มที่ 2 : เรื่อง นม






ตัวอย่างการสอน STEM กลุ่มที่ 1 : กิจกรรมเรือบรรทุกสินค้า







👉 การจัดการเรียนรู้แบบ  Executive Function (EF)

EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ

             EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
            ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย

1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้
4.Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

ตัวอย่างการสอน Executive Functions (EF) กลุ่มที่ 1 : กิจกรรมต่อรางรถไฟโดยใช้หลอด






ตัวอย่างการสอน Executive Functions (EF) กลุ่มที่ 2 : กิจกรรมฉีกกระดาษให้ยาวที่สุด




👉 การจัดการเรียนรู้แบบ มอนเตสซอรี (Montessori)


         เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุกๆด้านในเวลาเดียวกัน 
         แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรมซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด  และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน
 อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อยเมื่อเล่นเสร็จแล้ว ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

หลักการสอนของมอนเตสซอรี่
- เด็กได้รับการยอมรับนับถือ
- จิตซึมซับ
- ช่วงเวลาหลักของชีวิต
- การเตรียมสิ่งแวดล้อม
- การศึกษาด้วยตัวเอง
- การวัดประเมินผล


ตัวอย่างการสอนแบบมอนเตสซอรี (Montessori) กลุ่มที่ 1 : กิจกรรมรูปทรงเรขาคณิต




ตัวอย่างการสอนแบบมอนเตสซอรี (Montessori) กลุ่มที่ 2 : ถุงผ้าปริศนา






กิจกรรมสุดท้ายเป็นการทำ Cooking หน่วย ไข่

กลุ่มที่ 1 เมนู แกงจืดเต้าหู้ไข่น้ำ




กลุ่มที่ 2 เมนู ผัดมาม่าใส่ไข่




กล่มที่ 3 เมนู ขนมปังชุปไข่







Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย เตรียมการนำเสนอการสอนมาอย่างดีค่ะ

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในห้องค่ะ มีความพร้อมในการออกมานำเสนอการจัดประสบการณ์เป็นอย่างดีค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายเหมาะสม อธิบายเข้าใจดีค่ะ และคอยแนะนำเทคนิคต่างๆให้กับนักศึกษาเสมอค่ะ


วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 6

Wednesday,18 Sebtember, 2019

💬 the knowledge gained


         วันนี้เป็นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มได้มานำเสนอการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในแต่ละเรื่องดังนี้
1.ไฮสโคป (High Scope)
2. มอนเตสซอรี่ (Montessori)
3. สเต็ม (STEM)
4. โปรเจ็ค (Project Approach)
5. EF

👉 การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป

            การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป (High Scope) นั้น   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย ที่มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย โดยปล่อยให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory) ที่ว่าด้วยการพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) ผ่านการกระทำของตน และการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน

หัวใจของไฮ/สโคป
             หลักปฏิบัติสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น  ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการ อันได้แก่

             1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้

             2. การปฏิบัติ (Do) คือ การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง การทบทวน


             3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

💬 ตัวอย่างการสอน "ไฮสโคป" กลุ่มที่ 1 : กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ หน่วย ตัวเรา




💬 ตัวอย่างการสอน "ไฮสโคป" กลุ่มที่ 2 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 



👉 การจัดการเรียนรู้แบบ โปรเจ็ค (Project Approach

             Project Approach   เป็นวิธีการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กเพื่อเตรียมพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 และ ศตวรรษต่อๆไป Project Approach ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กอย่างลุ่มลึกด้วยตนเอง สอนให้เด็กรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning to Learn) ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองต่อไปได้ตลอดชีวิต และยังสอนวิธีการคิดรูปแบบต่างๆ (Learning to Think) ให้แก่เด็กอีกด้วย ทำให้เด็กสามารถพิจารณาข้อมูลอย่างมีเหตุมีผล นำข้อมูลมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ สังเคราะห์ พิจารณาถึงความถูกต้องและประโยชน์ได้ตามวัย การเรียนรู้แบบ Project Approach บูรณาการวิชาต่างๆให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีความหมายและเป็นที่สนใจของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา หรือประวัติศาสตร์ การเรียนรู้แบบ Project Approach เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในวงการการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลกว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง (Brain Based Learning) อย่างมาก

             Project Approach เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เด็กสนใจในโลกแห่งความเป็นจริงและพบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กๆสามารถศึกษาได้โดยง่าย ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และในชุมชน การเรียนรู้แบบ Project Approach นี้ ช่วยให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้อย่างลุ่มลึกในสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อันเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็ก นอกจากนั้น Project Approach ยังตั้งอยู่บนรากฐานของทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และช่วยพัฒนาจิต 5 ประการ (Five Minds of the Future) ด้วย การดำเนินการเรียนรู้แบบ Project Approach มีการดำเนินการคล้ายคลึงกับการเรียนรู้แบบ Constructionism ด้วยแต่สามารถนำมาใช้กับเด็กปฐมวัยหรือเด็กอนุบาลได้

การเรียนรู้แบบ Project Approach ตามรูปแบบของ Lillian Katz และ Sylvia Chard มี 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่1 – เริ่มต้น

          เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง

Project Approach ระยะที่2 – การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้

          ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถพิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย

Project Approach ระยะที่3 – การสรุป Project

           เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ “ Project Approach ” ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุนส่งเสริมนักสืบรุ่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และค้นพบกันอย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นและภาคภูมิใจ

💬 ตัวอย่างการสอนแบบ “ Project Approach ” กลุ่มที่ 1 : เรื่อง ช้าง



ระยะที่ 1 
- เด็กๆเลือกเรื่องที่จะศึกษา โดยมีครูคอยแนะนำ
- ครูถามความรู้เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับช้าง
- ถามคำถามว่าเด็กๆอยากรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับช้าง และหาวิธีหาคำตอบ
- ครูบันทึกความคิดของเด็กๆ
ระยะที่ 2 
- ครูให้ความรู้เรื่องช้างกับเด็กๆโดยการพาไปสวนสัตว์ และเชิญวิทยากรที่รู้เกี่ยวกับเรื่องช้างมาให้ความรู้
- ครูออกแบบกิจกรรมมาจัดให้เด็กๆในห้องเรียน
ระยะที่ 3
- ครูจัดนิทรรศการเรื่องช้าง ตามมุมประสบการณ์ต่างๆ
- รวบรวมข้อมูล
- ประเมินการจัด Project เรื่องช้าง

👉 การจัดการเรียนรู้แบบ STEM

         STEM คือ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญแลจำเป็น เกิดจากการย่อชื่อตัวอักษรตัวแรกของ 4 สาระเข้าด้วยกัน นั่นคือ 



Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน 
  1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน  
  2. ขั้นสำรวจและการค้นหา  
  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
  4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขึ้น 
  5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ 
  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ 
  2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต 
  3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา 
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ 
  5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ 
  6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด 
  7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 
  1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ 
  2.หาแนวทางการแก้ปัญหา 
  3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา 
  4.ทดสอบและประเมินผล

คณิตศาสตร์ (Mathematics)  สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย
          การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดการเรียนรู้ 5 ประการได้แก่ 
   (1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการ 
   (2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำ อาชีพ 
   (3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
   (4) จัดกิจกรรมให้ท้าทายความคิดของเด็กปฐมวัย 
   (5) เปิดโอกาสให้ เด็กได้สืบค้น นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหา  เป็นการสร้างประสบการณ์ ผ่านการเล่นและการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม การสืบค้น การรวบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ และเด็กต้องการโอกาสนำเสนอผลงานที่ผ่านการคิดที่เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

💬 ตัวอย่างการสอน STEM กลุ่มที่ 1 : กิจกรรมเรือบรรทุกสินค้า






Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในห้องค่ะ มีความพร้อมในการออกมานำเสนอการจัดประสบการณ์เป็นอย่างดีค่ะ

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายเหมาะสม อธิบายเข้าใจดีค่ะ และคอยแนะนำเทคนิคต่างๆให้กับนักศึกษาเสมอค่ะ



วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 5

Monday,09 Sebtember, 2019

💬 the knowledge gained

กิจกรรมเคลื่อนไห (แบบผู้นำผู้ตาม) หน่วยต้นไม้
ประเภทของต้นไม้ 🌴





🌼 กิจกรรมพื้นฐาน
1.ให้เด็กๆหาพื้นที่ของตนเองโดยใช้ แขนหรือขา ในการหาพื้นที่พยายามไม่ให้ตนเองชนกับเพื่อนข้างๆ
2. ให้เด็กๆเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะการเคาะ ดังนี้
เคาะ 1 ครั้ง สไลด์ไปข้างๆ 1 ก้าว
เคาะ 2 ครั้ง สไลด์ไปข้างๆ 2 ก้าว
เคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่ทันที 
🌼 กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
3. ให้เด็กจับมือกันเป็นวงกลม จากนั้นขออาสาสมัครออกมาทำท่าต้นไม้ที่ตนเองรู้จักและให้เพื่อนๆที่อยู่ในวงกลมทำตาม และให้เลือกเพื่อนคนต่อไปออกมาทำจนครบทุกคน
🌼 กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
4. ให้เด็กๆนั่งลงบีบนวดแขน ขาให้ตนเอง



วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 4

Monday, 02 Sebtember, 2019

💬 the knowledge gained





          🍁 อาจารย์ให้นักศึกษาได้เขียนแผนการสอนในหน่วยของตนเอง โดยเริ่มจากกิจกรรมพื้นฐานและกิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาก่อน

  การให้เด็กหาพื้นที่ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่ การกางแขน กางขา การใช้ลำตัว เป็นต้น
  การเคลื่อนไหว ได้แก่ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ได้แก่ เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย เคลื่อนไหวประกอบเพลง เคลื่อนไหวตามข้อตกลง เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม และเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์

🌼 ภาพกิจกรรม การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว

กิจกรรมที่ 1 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม 
⏩ ให้เด็กๆที่อยู่ในวงกลมออกมานำเพื่อนทำท่า ดูแลรักษาร่างกายและให้เพื่อนๆที่อยู่ในวงกลมทำท่าตาม จากนั้นให้เด็กเลือกเพื่อนคนต่อไปออกมาทำจนครบทุกคน
กิจกรรมที่ 2 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง 
⏩ คุณครูกำหนดมุม 3 มุมให้เป็นสถานที่ต่างๆ ได้แก่ มุมนิทานเป็นโรงพยาบาล มุมบล็อกเป็นวัด และมุมวิทยาศาสตร์เป็นโรงเรียน สร้างข้อตกลงกับเด็กๆและให้เด็กจำมุมต่างๆ






Self evaluation

👉  เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายรายละเอียดงานและมอบหมายงาน

Evaluate friends

👉   เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในห้องค่ะ มีความเสียสละออกมาเป็นตัวแทนในการสอน

Evaluate the teacher

👉  อาจารย์แต่งกายเหมาะสม อธิบายเข้าใจดีค่ะ และคอยแนะนำเทคนิคต่างๆให้กับนักศึกษาเสมอค่ะ